วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติลูกเสือไทย


ประวัติลูกเสือ
วันลูกเสือแห่งชาติ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย
๏ ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา
๏ ทรงอุตส่าห์อบรมบ่มนิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอนสรรพกิจวิทยา
เป็นอาภาผ่องพุทธิ์วุฒิไกร
๏ ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย

*** ราชสดุดี : เพลงลูกเสือ.
ประวัติลูกเสือโลก
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้
- S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
- C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
- O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
- U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
- T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๐ ) ในวัยเด็กชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา ท่านเป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยนัก จึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน
หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ท่านได้รวบรวมเด็ก ๒๐ คน ให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง
ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ ๘๐ ปี และถึงแก่กรรม เมื่อ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่เคนยา แอฟริกานั้นเอง
ประวัติลูกเสือไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยฝีกอบรมพวกผู้ใหญ่ เช่นข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามมีศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่นช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นต้น
จากนั้นอีกสองเดือนต่อมา คือ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย นับเป็นประเทศที่ ๓ ของโลก ที่จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชประสงค์ปลูกฝังให้เยาวชน รักชาติบ้านเมือง รักความสามัคคี มีความมานะอดทน และเสียสละเพื่อส่วนรวม
คำปฏิญาณของลูกเสือ
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ
ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
ประเภทของลูกเสือ

ลูกเสือ คือใคร


ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี      ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ  โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle)     วิธีการ (Method)     และวัตถุประสงค์ (Purpose)   ของการลูกเสือ  (Scouting)   อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2528    และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ     ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า  ลูกเสือมี   4 ประเภท   คือ   สำรอง  สามัญ  สามัญรุ่นใหญ่  วิสามัญ    และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร  และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง   อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี    หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย

ประเภทของลูกเสือ    
 
1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) 
อายุ 8 – 11 ปี 
คติพจน์: ทำดีที่สุด  (Do Our Best)

2. ลูกเสือสามัญ (Scout) 
อายุ 11 – 16 ปี 
คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be prepared)

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) 
อายุ 14 – 18 ปี  
คติพจน์: มองไกล  (Look wide)

4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover)   
อายุ 16 - 25 ปี 
คติพจน์: บริการ  (Service)
 หลักการสำคัญของลูกเสือ 4 ประเภท  ประกอบด้วย

1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout)
 

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3

กองลูกเสือสำรอง
ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ และไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 6 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย

คติพจน์                                             
ทำดีที่สุด”    (Do Your Best)

คำปฏิญาณ ข้าสัญญาว่า

ข้อ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ข้อข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน


กฎของลูกเสือสำรอง

ข้อลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่

ข้อลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง


การเคารพ
วิธีแสดงความเคารพมี  2  วิธี  คือ

1. แสดงความเคารพเป็นบุคคล ลูกเสือจะสวมหมวกหรือมิได้สวมหมวกทำวันทยาหัตถ์ 2 นิ้ว  คือยกมือขวาขึ้น แยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรงรูปตัว V แล้วแตะนิ้วที่กระบังหมวกต่อขอบหมวก

2. แสดงความเคารพเป็นหมู่ คือ การทำแกรนด์ฮาวล์
 2. ลูกเสือสามัญ (Scout)

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6


กองลูกเสือสามัญ
ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 - 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 6 – 8 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย


คติพจน์
จงเตรียมพร้อม”    (Be prepared)


คำปฏิญาณ
ด้วยเกียรติของข้า  ข้าสัญญาว่า  -  “On my honour, I promise

ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  - to do my duty to my country, to religion and to the monarch

ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ -  to help other people at all times                

ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ -  and to obey the Scout Law”


กฎของลูกเสือสามัญ

1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ (A scout’s honor is to be trusted.)

2. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ (A scout is loyal.)

3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น (A scout’s duty is to be useful to help others.)

4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก (A scout is a friend to all and a brother to every other scout.)

5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย (A scout is courteous.)

6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ (A scout is a friend to animal.)

7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ (A scout obeys orders of his parents, Patrol Leader and Scoutmaster without question.)

8. ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (A scout smiles and whistles under all difficulties.)

9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ (A scout is thrifty.)

10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ (A scout is clean in thought, word and deed.)


การเคารพ 
วิธีแสดงความเคารพมี 2 วิธี คือ

1. วันทยาหัตถ์ เป็นท่าแสดงความเคารพส่วนบุคคลขณะอยู่ตามลำพัง การทำวันทยาหัตถ์ ให้ยกมือขวาขึ้น นิ้วหัวแม่มือกดนิ้วก้อยไว้ เหยียดนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางชิดกัน  ให้ข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้แตะที่ขอบหมวกปีก ประมาณตรงหางคิ้วขวา ถ้าสมหมวกทรงอ่อน (แบร์เร่ต์)  ถ้ามิได้สวมหมวก ใช้ปลายนิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา  ถ้าอยู่ในแถว ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะเป็นผู้หรือผู้สั่ง เช่น     “แถวตรง

2. วันทยาวุธ หรือเคารพท่าพลอง    เป็นการแสดงความเคารพเมื่อลูกเสือถือไม้พลอง  

2.1 เมื่อยู่กับที่ ลูกเสือต้องอยู่ในท่าเลียบอาวุธ  คือ อยู่ในท่ายืนตรง ถือไม้พลองด้วยมือขวา โคนไม้พลองอยู่ชิดกับเท้าขวาที่โคนนิ้วก้อย จับไม้พลองให้อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้   อีก 4 นิ้ว จับไม่พลองเฉียงลงไปข้างล่าง   นิ้วเรียงชิดติดกัน ปลายไม้พลองอยู่ในร่องไหล่ขวา   ตั้งตรงแนบลำตัว เมื่อผู้บังคับบัญชาบอก วันทยาวุธให้ยกมือซ้าย (เช่นเดียวกับการแสดงรหัส) ขึ้นแตะที่ไม้พลอง  ให้แขนซ้ายอยู่เสมอแนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง  เมื่อเลิกทำความเคารพ ผู้บังคับบัญชาจะบอก เรียบ อาวุธให้ลูกเสือลดแขนซ้ายลงมาอยู่ที่เดิมโดยเร็ว

2.2 เมื่อเดินในท่าแบกพลอง ให้ลดมือซ้ายจับที่พลองเหยียดลงมาชิดกับตัว แล้วยกมือขวาท่าแสดงรหัสลูกเสือไปแตะพลอง  ให้คว่ำฝ่ามือลงข้างล่างและให้แขนขวาอยู่เสมอแนวระดับใหล่ทั้งสองข้าง  ในขณะทำความเคารพ  ให้มองดูผู้รับการเคารพ

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3


กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ ไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 8 คน  รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่
คติพจน์ มองไกล”  (Look wide)  


คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  เป็นเช่นเดียวกับลูกเสือสามัญ
4. ลูกเสือวิสามัญ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6   (หรือระดับชั้นอาชีวศึกษา  อุดมศึกษา) 

ประวัติลูกเสือ

ประวัติลูกเสือ
วันลูกเสือแห่งชาติ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย
๏ ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา
๏ ทรงอุตส่าห์อบรมบ่มนิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอนสรรพกิจวิทยา
เป็นอาภาผ่องพุทธิ์วุฒิไกร
๏ ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย

*** ราชสดุดี : เพลงลูกเสือ.
ประวัติลูกเสือโลก
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้
- S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
- C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
- O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
- U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
- T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๐ ) ในวัยเด็กชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา ท่านเป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยนัก จึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน
หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ท่านได้รวบรวมเด็ก ๒๐ คน ให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง
ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ ๘๐ ปี และถึงแก่กรรม เมื่อ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่เคนยา แอฟริกานั้นเอง
ประวัติลูกเสือไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยฝีกอบรมพวกผู้ใหญ่ เช่นข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามมีศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่นช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นต้น
จากนั้นอีกสองเดือนต่อมา คือ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย นับเป็นประเทศที่ ๓ ของโลก ที่จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชประสงค์ปลูกฝังให้เยาวชน รักชาติบ้านเมือง รักความสามัคคี มีความมานะอดทน และเสียสละเพื่อส่วนรวม
คำปฏิญาณของลูกเสือ
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ
ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
ประเภทของลูกเสือ

ลูกเสือ คือใคร


ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี      ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ  โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle)     วิธีการ (Method)     และวัตถุประสงค์ (Purpose)   ของการลูกเสือ  (Scouting)   อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2528    และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ     ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า  ลูกเสือมี   4 ประเภท   คือ   สำรอง  สามัญ  สามัญรุ่นใหญ่  วิสามัญ    และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร  และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง   อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี    หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย

ประเภทของลูกเสือ    
 
1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) 
อายุ 8 – 11 ปี 
คติพจน์: ทำดีที่สุด  (Do Our Best)

2. ลูกเสือสามัญ (Scout) 
อายุ 11 – 16 ปี 
คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be prepared)

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) 
อายุ 14 – 18 ปี  
คติพจน์: มองไกล  (Look wide)

4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover)   
อายุ 16 - 25 ปี 
คติพจน์: บริการ  (Service)
 หลักการสำคัญของลูกเสือ 4 ประเภท  ประกอบด้วย

1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout)
 

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3

กองลูกเสือสำรอง
ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ และไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 6 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย

คติพจน์                                             
ทำดีที่สุด”    (Do Your Best)

คำปฏิญาณ ข้าสัญญาว่า

ข้อ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ข้อข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน


กฎของลูกเสือสำรอง

ข้อลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่

ข้อลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง


การเคารพ
วิธีแสดงความเคารพมี  2  วิธี  คือ

1. แสดงความเคารพเป็นบุคคล ลูกเสือจะสวมหมวกหรือมิได้สวมหมวกทำวันทยาหัตถ์ 2 นิ้ว  คือยกมือขวาขึ้น แยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรงรูปตัว V แล้วแตะนิ้วที่กระบังหมวกต่อขอบหมวก

2. แสดงความเคารพเป็นหมู่ คือ การทำแกรนด์ฮาวล์
 2. ลูกเสือสามัญ (Scout)

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6


กองลูกเสือสามัญ
ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 - 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 6 – 8 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย


คติพจน์
จงเตรียมพร้อม”    (Be prepared)


คำปฏิญาณ
ด้วยเกียรติของข้า  ข้าสัญญาว่า  -  “On my honour, I promise

ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  - to do my duty to my country, to religion and to the monarch

ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ -  to help other people at all times                

ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ -  and to obey the Scout Law”


กฎของลูกเสือสามัญ

1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ (A scout’s honor is to be trusted.)

2. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ (A scout is loyal.)

3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น (A scout’s duty is to be useful to help others.)

4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก (A scout is a friend to all and a brother to every other scout.)

5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย (A scout is courteous.)

6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ (A scout is a friend to animal.)

7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ (A scout obeys orders of his parents, Patrol Leader and Scoutmaster without question.)

8. ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (A scout smiles and whistles under all difficulties.)

9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ (A scout is thrifty.)

10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ (A scout is clean in thought, word and deed.)


การเคารพ 
วิธีแสดงความเคารพมี 2 วิธี คือ

1. วันทยาหัตถ์ เป็นท่าแสดงความเคารพส่วนบุคคลขณะอยู่ตามลำพัง การทำวันทยาหัตถ์ ให้ยกมือขวาขึ้น นิ้วหัวแม่มือกดนิ้วก้อยไว้ เหยียดนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางชิดกัน  ให้ข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้แตะที่ขอบหมวกปีก ประมาณตรงหางคิ้วขวา ถ้าสมหมวกทรงอ่อน (แบร์เร่ต์)  ถ้ามิได้สวมหมวก ใช้ปลายนิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา  ถ้าอยู่ในแถว ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะเป็นผู้หรือผู้สั่ง เช่น     “แถวตรง

2. วันทยาวุธ หรือเคารพท่าพลอง    เป็นการแสดงความเคารพเมื่อลูกเสือถือไม้พลอง  

2.1 เมื่อยู่กับที่ ลูกเสือต้องอยู่ในท่าเลียบอาวุธ  คือ อยู่ในท่ายืนตรง ถือไม้พลองด้วยมือขวา โคนไม้พลองอยู่ชิดกับเท้าขวาที่โคนนิ้วก้อย จับไม้พลองให้อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้   อีก 4 นิ้ว จับไม่พลองเฉียงลงไปข้างล่าง   นิ้วเรียงชิดติดกัน ปลายไม้พลองอยู่ในร่องไหล่ขวา   ตั้งตรงแนบลำตัว เมื่อผู้บังคับบัญชาบอก วันทยาวุธให้ยกมือซ้าย (เช่นเดียวกับการแสดงรหัส) ขึ้นแตะที่ไม้พลอง  ให้แขนซ้ายอยู่เสมอแนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง  เมื่อเลิกทำความเคารพ ผู้บังคับบัญชาจะบอก เรียบ อาวุธให้ลูกเสือลดแขนซ้ายลงมาอยู่ที่เดิมโดยเร็ว

2.2 เมื่อเดินในท่าแบกพลอง ให้ลดมือซ้ายจับที่พลองเหยียดลงมาชิดกับตัว แล้วยกมือขวาท่าแสดงรหัสลูกเสือไปแตะพลอง  ให้คว่ำฝ่ามือลงข้างล่างและให้แขนขวาอยู่เสมอแนวระดับใหล่ทั้งสองข้าง  ในขณะทำความเคารพ  ให้มองดูผู้รับการเคารพ

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3


กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ ไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 8 คน  รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่
คติพจน์ มองไกล”  (Look wide)  


คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  เป็นเช่นเดียวกับลูกเสือสามัญ
4. ลูกเสือวิสามัญ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6   (หรือระดับชั้นอาชีวศึกษา  อุดมศึกษา) 


กองลูกเสือวิสามัญ

ประกอบด้วยลูกเสือวิสามัญอย่างน้อย 10 คน  และไม่เกิน 40 คน  โดยจะแบ่งออก  เป็นชุดหรือหมู่ ตามความต้องการก็ได้ และควรมีลูกเสือวิสามัญชุดหรือหมู่ละ 4 - 6 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่
คติพจน์
บริการ”  (Service)


คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือวิสามัญ
คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือวิสามัญ  เป็นเช่นเดียวกับลูกเสือสามัญ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รายงานตัว

ชื่อ ด.ช.tนภัทร  ประจันตะเสน
ชั้นป.5.6
เลขที่ 18
วิชาคอมพิวเตอร์
ครูผู้สอน ครู  กัญญา  เต็งโล่ง
1.ความที่ได้รู้วันนี้ คือได้รู้จักการสร้างบล็อก
2.ความรู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม คือการสมัครไซ